Description

ทำความรู้จัก กระดาษซับลิเมชั่น

กระดาษซับลิเมชั่น (Sublimation Paper) เป็นกระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ภาพลงบนวัสดุต่างๆ เช่น เสื้อ ผ้า แก้ว จาน หมวก ฯลฯ ด้วยเทคนิคการสกรีนภาพแบบซับลิเมชั่น (Sublimation Printing) ซึ่งใช้น้ำหมึกซับลิเมชั่น (Sublimation Ink) พิมพ์ภาพลงบนกระดาษซับลิเมชั่น จากนั้นจึงนำไปรีดร้อนด้วยเครื่องรีดร้อน (Heat Press) ด้วยความร้อนและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการถ่ายเทสี เพื่อให้น้ำหมึกซับลิเมชั่นระเหยกลายเป็นไอและซึมเข้าไปอยู่ในวัสดุ ทำให้ภาพติดทนนานและไม่หลุดลอกและมีความชัดและสวยงามอีกด้วย

กระดาษซับลิเมชั่นที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ถ่ายเทสีได้ดี ให้สีสันสดใสสมจริง
  • ทนทานต่อความร้อน
  • ไม่อมน้ำ
  • ใช้งานง่าย

ความแตกต่างของ กระดาษซับลิเมชั่น

กระดาษมีให้เลือกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษซับลิเมชั่นแบบแห้ง กระดาษซับลิเมชั่นแบบเปียก และกระดาษซับลิเมชั่นแบบพิเศษ

  • กระดาษซับลิเมชั่นแบบแห้ง

    หรือที่เรียกกันว่า กระดาษ (Fastdry paper) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ภาพลงบนวัสดุที่เป็นผ้า

ตัวกระดาษจะมีสารตัวหนึ่งที่เป็นคุณสมบัติพิเศษช่วยให้กระดาษแห้งไว ทำให้งานที่เราพิมพ์สีเข้มนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่องไม่สะดุดนั่นเอง

  • กระดาษซับลิเมชั่นแบบเปียก

หรือที่เรียกกันว่า กระดาษ (Supersub paper) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ภาพลงบนวัสดุที่เป็นแก้ว จาน ฯลฯ
ตัวกระดาษจะมีการเคลือบสารสำหรับกักเก็บหมึกเป็นพิเศษ ความเหนียวเพิ่มขึ้นมาเลิกน้อยจะช่วยในเรื่องการจับตัวหมึกให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ หมึกไม่มีการไหลเยิ้ม

  • กระดาษซับลิเมชั่นแบบพิเศษ

หรือที่เรียกกันว่า กระดาษ (Sticky paper) เหมาะสำหรับงานพิมพ์ภาพลงบนวัสดุที่มีพื้นผิวเฉพาะ เช่น ผ้าขนหนู ผ้าห่ม แผ่นรองเมาส์ ฯลฯ ตัวกระดาษรุ่นนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษกว่าตัวกระดาษอื่นๆอย่างมาก
ตรงนี้กระดาษจะมีการกักเก็บหมึกได้ดีเป็นพิเศษและหลังจากพิมพ์กระดาษจะยืดอยู่กับวัสดุนั้นๆโดยไม่ร่อนและหลุดลอก จึงช่วยลดปัญหาในเรื่องของผ้าหดได้เป็นอย่างดีเพราะตัวกระดาษจะยึดไว้อย่างแน่น โดยกระดาษตัวนี้จะเหมาะสมกับเครื่องรีดร้อนขนาด 70×90 cm. เป็นอย่างมากจะช่วยให้เราทำงานได้อย่างง่ายขึ้น
ข้อเสียของกระดาษตัวนี้คือต้นทุนอาจจะสูงเล็กน้อย

เคล็ดลับในการเลือกใช้ กระดาษซับลิเมชั่น กับเครื่อง large format

การที่จะสั่งพิมพ์จากเครื่อง Printer sublimation large format เครื่องใดก็แล้วแต่ ควรเลือกประเภทกระดาษให้เหมาะสมกับประเภทของงานนั้นๆ เนื่องจาก กระดาษซับลิเมชั่น แต่ละประเภทมีคุณสมบัติการรองรับหมึกที่ต่างกันไป รับได้มาก รับได้น้อย ขึ้นอยู่กับแกรมและคุณภาพของกระดาษ
หากจะใช้สีเข้มก็ควรใช้กระดาษที่มีแกรม(gsm)สูง หรือมีความหนาเป็นพิเศษ เพราะตัววัสดุนั้นจะสามารถกักเก็บน้ำหมึกได้มาก จึงสามารถดึงประสิทธิภาพของ กระดาษซับลิเมชั่น ม้วน มาได้อย่างสูงสุด ทำให้การนำไปใช้ในการรีดร้อน สะดวกและตัวงานมีสีสวย สด คมชัด ดูเป็นพรีเมี่ยมนั่นเอง

เลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

  • กระดาษ 100 gsm

เป็นตัวกระดาษที่มีความหนามากที่สุดในตระกูลของ กระดาษซับลิเมชั่น มีความยาวอยู่ที่ 100 เมตร และมักจะเหมาะกับงานถมผ้าพิมพ์ลายสีเข้มเป็นอย่างมาก  เมื่อนำไปใช้พิมพ์แล้วกระดาษจะไม่เกิดอาการ โก่งหรือพอง โดยสีที่มักจะใช้พิมพ์ คือ
สีม่วง น้ำเงิน ดำ กรม ฯลฯ สามารถพิมพ์สีเทถมลงไปในช่องว่างของเส้นผ้าได้ทำให้ผ้าไม่มีเส้นหรือช่องสีขาวนั่นเอง แต่อาจจะต้องแลกกับต้นทุนกระดาษที่สูงขึ้นเล็กน้อย

  • กระดาษ 90 gsm

เป็นกระดาษที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับลดต้นทุนในการผลิตเสื้อเพิ่มกำไร คุมคอสค่าผลิต โดยกระดาษตัวนี้จะบางลงเล็กน้อยมีความยาวอยู่ที่ 100 เมตร แต่ก็สามารถลองรับผ้าพิมพ์ลายสีเข้มโทนมืดได้เป็นปกติ และยังมีรุ่นอัปเกรดเพิ่มเติมโดยสามารถจุกระดาษได้ถึง 200 เมตร ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนหรือเติมกระดาษบ่อย และเหตุผลนี้เองจึงทำให้กระดาษ 90 แกรม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานที่ต้องการลดต้นทุนนั่นเอง

  • กระดาษ 70 gsm

เป็นกระดาษที่เน้นสำหรับลดต้นทุนโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ผลิตงานการ์เม้นท์ หรือโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี เพราะต้นทุนของกระดาษพิมพ์นั่นมีราคาค่อนข้างถูกมาก เหมาะในเรื่องของการนำไปผลิตใช้แบบขายส่ง แน่นอนว่าตัวกระดาษนั่นจะมีความบางเป็นอย่างมากแต่จะไม่เหมาะกับงานผ้าพิมพ์ลายสีเข้ม จะเน้นไปทางด้านโดนสว่าง พาสเทล มากกว่าการทำผ้าพิมพ์ลายสีเข้ม เมื่อตัวกระดาษบางลงก็จะยิ่งทำให้กับเก็บในม้วนได้มากขึ้น ทำให้กระดาษ 70 แกรม รองรับความยาวได้สูสุดถึง 300 เมตร

เลือกใช้อย่างไรไม่ให้หัวพิมพ์พัง 

ควรเลือกซื้อกับเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการที่มีความรู้ การขาย เครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่น เพราะก่อนที่ผู้ประกอบการนั่นจะจำ กระดาษซับลิเมชั่น มาจำหน่ายจะมีการเทสทดลองอยู่หลายครั้ง เพื่อไม่ให้เกิด Error ในระหว่างการพิมพ์งานนั่นเอง
เพราะปัจจัยหลักของหัวพิมพ์ที่พัง คือผู้ใช้นั้นอยากได้กระดาษที่มีราคาถูกเพื่อลดต้นทุน แต่กระดาษนั้นยิ่งถูกมากยิ่งบางมากจะยิ่งมีความคมของกระดาษ เมื่อมุมกระดาษถูกชนเข้าหัวพิมพ์จะทำให้หัวพิมพ์เสียหายในระยะยาวจะทำให้หัวพิมพ์พังนั่นเอง และปัจจัยหลักของหัวพิมพ์พังเมื่อใช้ กระดาษซับลิเมชั่น ม้วน คือกระดาษไม่สามารถรองรับปริมาณหมึกมากได้จึงเกิดอาการกระดาษพองทำให้ไปขูดกับหัวพิมพ์ในระหว่างพิมพ์ ทำให้เกิดอาการหัวพิมพ์ตัน หรือทะลุ นั่นเอง

การเคลือบผิวของกระดาษ 

เคยสังเกตหรือไม่ว่ากระดาษที่เราพิมพ์มากจากเครื่องพิมพ์แล้วนำไปรีดร้อนนั้น บางครั้งยังมีสีหลงเหลือคาอยู่ที่ กระดาษซับลิเมชั่น มากกว่า 30 % อย่างเห็นได้ชัด กระดาษจากผู้ขายบางที่สามารถรีดแล้วสีออกหมดเลย ผู้ใช้ใหม่หลายๆคนมักจะคิดว่าตัวกระดาษนั้นไม่มีคุณภาพ เพราะตัวกระดาษไม่สามารถดึงประสิทธิภาพมาได้อย่างสูงสุดจึงเกิดมีสีลงเหลือ อันที่จริงแล้วไม่ใช่กระดาษไม่มีคุณภาพแต่อย่างใด
แต่กระดาษจะมีการเคลือบผิวด้านหน้าอยู่ 2 ประเภท
เคลือบแบบเจล ตัวพื้นผิดของกระดาษจะมีความเหนียวเล็กน้อยเมื่อพิมพ์ หมึกซับลิเมชั่น ลงตัวเจลจะทำการจับตัวหมึกไว้ให้แน่นไม่ให้เสียคุณภาพ และเมื่อนำไปรีดร้อนด้วยเครื่อง Heatmachine หรือ Heattranfer ตัวเจลจะลงไปพร้อมกับหมึกและเข้าสู่เนื้อผ้า จึงทำให้สีไม่มีหลงเหลือใน กระดาษซับลิเมชั่น ม้วน
เคลือบแบบ Powder จะมีส่วนผสมของผงกาวซึ่งใช้แทนเจลข้อดีของของ Powder คือตัวกระดาษจะมีต้นทุนถูกแต่แลกกันกับสีที่เวลานำไปรีดร้อนแล้วไม่ออกจากกระดาษถึง 100 เปอร์เซ็น

กับเครื่องพิมพ์ไหนได้บ้าง

  • เครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด A3 / A4
  • เครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 24 นิ้ว
  • เครื่องพิมพ์ Mimaki Ts100-1600
  • เครื่องพิมพ์ Epson F6430H
  • เครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่น Arena A2020

วิธีดูแลให้ใช้งานได้นานไม่ให้มีปัญหา

จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่หลายท่านอาจจะมองข้าม คือการดูแลรักษาวัสดุ กระดาษซับลิเมชั่น ให้มีอายุการใช้งานนาน
โดยปกติเมื่อผู้ใช้นำกระดาษมาใช้เสร็จก็จะปล่อยไว้ และวางติดเครื่อง โดยที่ไม่มีการเก็บให้เรียบร้อย
สำหรับกระดาษแบบ Sheet หรือไซต์ กระดาษซับลิเมชั่นA4 หากไม่เก็บเข้าซองตามเดิมให้เรียบร้อยตัวกระดาษโดนความชื้นก็จะมีอาการงอตัว เวลาพิมพ์กระดาษก็จะจนกับหัวพิมพ์ทำให้มีปัญหานั่นเองและควรวางกระดาษเต็มแพคให้อยู่พื้นที่เรียบเพื่อป้องกันการงอของกระดาษ

สำหรับ กระดาษซับลิเมชั่น ม้วน ในกล่องจะแพคตัวกระดาษมาเป็นอย่างดีพร้อมกันถุงครอบสีดำกันอากาศเข้าเมื่อเรานำมาแกะใช้ควรเก็บตัวถุงครอบไว้เพราะหากเราใช้แล้วพิมพ์กระดาษในการ รับผลิตเสื้อพิมพ์ลาย ไม่หมดควรนำมาใส่คืนเช่นเดิม จะช่วยลดปัญหาความชื้นของกระดาษที่ทำให้เกินปัญหาเป็นภาพเบลอ ฟุ้ง และซ้อนอีกด้วย ดูแคตตาล็อกกระดาษม้วน คลิก

  1. ขั้นตอนการพิมพ์ภาพด้วยกระดาษซับลิเมชั่น

    1. เลือกน้ำหมึกซับลิเมชั่นและกระดาษซับลิเมชั่นให้เหมาะสมกับวัสดุที่ต้องการพิมพ์
    2. พิมพ์ภาพที่ต้องการลงบนกระดาษซับลิเมชั่น
    3. ตัดกระดาษซับลิเมชั่นให้มีขนาดเท่ากับวัสดุที่ต้องการ
    4. วางกระดาษซับลิเมชั่นลงบนวัสดุที่ต้องการ
    5. นำเข้าเครื่องรีดร้อน ตั้งอุณหภูมิและเวลาตามคำแนะนำของผู้ผลิต

ทำไมต้องซื้อที่เรา

เพราะเราเป็นผู้จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์สำหรับงานพิมพ์ซับลิเมชั่น กระดาษซับลิเมชั่น แบบครบวงจรมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี และมีบริการหลังการขายดูแลท่านให้ทำงานได้อย่างราบรื่น กระดาษซับลิเมชั่น คือ ปัจจัยสำคัญสำหรับงานผลิตของคุณ
รวมทั้ง หมึกซับลิเมชั่น เครื่องพิมพ์ซับลิเมชั่น เครื่องรีดร้อน ผ้าไมโครเลียบ และอื่นๆอีกมายผ้า